top of page

รู้จักค่ากันลื่น ค่า R กระเบื้อง เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

  • รูปภาพนักเขียน: Biopox
    Biopox
  • 26 ธ.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะมองว่า กระเบื้อง เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นที่มีความอันตรายสูง เพราะด้วยลักษณะที่มันเงาและลื่นเมื่อสัมผัสกับน้ำ แต่รู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถแบ่งค่ากันลื่น (ค่า R) ของพื้นกระเบื้อง ออกเป็นหลายระดับ เพื่อการเลือกใช้งานตามความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป

สำหรับใครที่สงสัยว่า ค่า R กระเบื้องคืออะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และเราสามารถเลือกใช้งานพื้นกระเบื้องต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง ? ในบทความนี้มีคำตอบครับ


ค่า R กระเบื้อง พื้นห้องน้ำ

ทำความรู้จักค่า R กระเบื้อง คืออะไร ?

ค่า R ในกระเบื้อง หรือ SLIP RESISTANCE RATING คือค่าตัวเลข กระเบื้องลื่น ที่เรามักจะเห็นเมื่อเลือกซื้อกระเบื้องแต่ละรูปแบบ เป็นค่าที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการกันลื่น ซึ่งวัดผ่านระดับทางลาดชันในองศาที่ต่างกัน เพื่อทดสอบความกันลื่นของพื้นกระเบื้องแต่ละระดับ และยิ่งมีเลขที่เพิ่มสูงมากเท่าไร นั่นแปลว่า กระเบื้องชิ้นนั้นสามารถกันลื่นได้มากขึ้นเท่านั้น

ค่ากระเบื้องเป็นปัจจัยสำคัญที่เราต้องสังเกตให้ดีก่อนเริ่มตกแต่งบ้าน เพราะสำหรับสมาชิกในบ้านที่ทรงตัวได้ไม่ดีอย่าง ผู้สูงอายุ หรือเด็ก ๆ ที่วิ่งเล่นซุกซนทั่วบ้าน ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ล้มหัวฟาดพื้น และบาดเจ็บรุนแรงได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าพื้นกระเบื้องมีค่ากันลื่น R ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

เลือกใช้งานกระเบื้องค่า R อย่างไรให้ปลอดภัย

ค่ากันลื่น คือค่าตัวเลขจากการทดสอบ Oil Wet Ramp Test หรือ การปูกระเบื้องบนทางลาดชันด้วยพื้นผิวน้ำมัน และให้บุคคลสวมรองเท้าบู๊ตและสายนิรภัยมาเดินในระดับองศาที่ต่างกัน จนกว่าบุคคลนั้นจะล้ม เพื่อคำนวณออกมาให้กลายเป็นตัวเลขครับ

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งค่ากันลื่นกระเบื้อง R ออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับก็เหมาะสมกับการใช้งานบนพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ค่ากันลื่นกระเบื้องระดับ R9

R9 กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสเรียบ ลื่น มีผิวหน้าที่มันวาว สามารถมองเห็นเงาสะท้อนได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการปูพื้นบ้านบริเวณที่ไม่สัมผัสกับน้ำ เช่น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องเก็บของ แต่ไม่ควรนำไปใช้ในพื้นที่ภายนอกบ้าน หรือบ้านที่มีผู้สูงอายุ เพราะอาจลื่นล้มหกล้มได้ง่าย ๆ

ค่ากันลื่นกระเบื้องระดับ R10

R10 กระเบื้องที่มีผิวสากเล็กน้อย ผิวหน้าไม่มีความมันวาว สะท้อนแสงน้อย สามารถกันลื่นได้ปานกลาง หกล้มได้ง่าย มักถูกใช้งานในพื้นที่กึ่งแห้งกึ่งเปียก เช่น ห้องแต่งตัว ห้องซักรีด ห้องครัว หรือพื้นหน้าบ้านในบริเวณใต้หลังคา

ค่ากันลื่นกระเบื้องระดับ R11

R11 กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสคล้ายเม็ดทราย มีความสาก สามารถกันลื่นได้สูง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เปียกอย่างพื้นที่ภายนอก หรือบริเวณที่ถูกฝนสาดเป็นประจำ เช่น ทางเข้าบ้าน ทางเดินในสวน ระเบียงตากผ้า หรือลานจอดรถครับ


ค่า R กระเบื้อง พื้นห้องครัว

ค่ากันลื่นกระเบื้องระดับ R12

R12 กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบมาก สามารถป้องกันการลื่นล้มได้ดีมาก จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในบริเวณที่มี คราบน้ำมัน หรือเปียกน้ำเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ  ห้องครัว สระว่ายน้ำ ห้องซักรีด หรือพื้นที่ที่มีผิวสัมผัสน้อยอย่าง บันได

ค่ากันลื่นกระเบื้องระดับ R13

R13 กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสหยาบและขรุขระมาก และมีผิวหน้าไม่มันวาว ช่วยป้องกันการลื่นล้มได้ดีเป็นพิเศษ จึงมักถูกใช้งานในพื้นที่ลาดชันสูง หรือพื้นที่ที่มีไขมันจำนวนมาก เช่น พื้นโรงงานเนย โรงอาหาร โรงครัว หรือโรงงานน้ำมันเครื่อง

ยกระดับค่ากันลื่นของกระเบื้องในบ้านคุณ เสริมความปลอดภัยด้วย น้ำยากันพื้นลื่น Biopox

ถ้าหากว่าพื้นบ้านของเรา มีค่ากันลื่น R ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มลื่นล้มได้ง่าย ๆ และสำหรับใครที่กำลังคิดว่า พื้นบ้านลื่นอาจไม่เป็นไร แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อสมาชิกในบ้านที่เรารัก เกิดลื่นล้มบาดเจ็บ ก็อาจทำให้พวกเขาเจ็บปวด ต้องได้รับการรักษาระยะยาวจาก อุบัติเหตุ เพียงครั้งเดียว และมิหนำซ้ำคุณยังต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแบบที่อาจคิดไม่ถึง 

ดังนั้นคุณจึงควรเปลี่ยนพื้นบ้านที่ใช้งานในทุก ๆ วันให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีผิวสัมผัสเปียก มัน และลื่นเป็นพิเศษ อย่าง บันได พื้นห้องน้ำ ห้องครัว สระว่ายน้ำ หรือพื้นที่หน้าบ้าน เพื่อลดโอกาสการบาดเจ็บรุนแรง

เราขอแนะนำให้คุณใช้น้ำยากันพื้นลื่น Biopox ที่ใคร ๆ ก็ทาได้ สีพื้นบ้านไม่เปลี่ยน รองรับมาตรฐานจากระดับสากลด้วยการทดสอบ Oil Wet Ramp Test คำนวณเป็น "ค่า R" แบบที่คุณไว้ใจได้อย่างแน่นอนครับ

หากสนใจผลิตภัณฑ์น้ำยากันลื่น Biopox สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.Biopox.co.th/


Biopox น้ำยากันพื้นลื่นช่วยเพิ่มค่า R กระเบื้อง

Comments


Commenting on this post isn't available anymore. Contact the site owner for more info.
bottom of page