รู้ไหมว่า ในประเทศไทยมีอุบัติเหตุการหกล้มของผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากถึง 1,600 รายต่อปีเลยเดียว ด้วยอายุที่มากขึ้นร่างกายก็เริ่มอ่อนแอลง ส่งผลถึงการทรงตัวที่ไม่ดีดังเดิม สายตาพร่ามัว ข้อต่อกระดูกเสื่อม ฯลฯ
ด้วยร่างกายที่อ่อนแอลง ทำให้การหกล้มในแต่ละครั้งอาจเป็นเรื่องใหญ่ สร้างอาการบาดเจ็บที่รุนแรงได้!
เพื่อดูแลคนที่เรารัก บทความนี้จึงจะมาแนะนำมีวิธีป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ลดความรุนแรงของเหตุการณ์ให้น้อยที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุ
จากงานวิจัยของ กรมควบคุมโรค พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ 4 ส่วนด้วยกัน หากศึกษาให้ดีก็จะเห็นแนวทางการรับมือ และสามารถป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้
ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกาย
ปัจจัยอย่างแรกที่ได้ชัดมากที่สุดคือ สุขภาพร่างกายที่เริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากอายุ ไม่ว่าจะเป็นด้านกล้ามเนื้อ กระดูก สายตา ทำให้การเดินทรงตัวนั้นแย่ลง รวมถึงผู้สูงอายุบางท่านยังมีโรคประจำตัวอีกด้วย
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แม้จะอยู่ภายในบ้านของตัวเองก็ตาม ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การเฝ้าดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด เฝ้าติดตามอาการ พาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ และพาพวกเขาไปออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงด้านการใช้ยา
สำหรับผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ยาที่ทานเป็นประจำอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้วิงเวียน อ่อนเพลีย หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
แนะนำให้คนในครอบครัวพูดคุยปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลอาการถึงผลข้างเคียงของยา เวลาที่ต้องทาน และการเฝ้าระวังให้ดี เพื่อที่จะหาแนวทางการดูแลได้อย่างถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุหลาย ๆ คน อาจส่งผลต่ออุบัติเหตุได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ชื่นชอบการสังสรรค์ ดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่ชื่นชอบการยกข้าวของ จัดบ้าน ทำอาหาร หรือเดินไปเดินมา ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาพลาดพลั้ง และลื่นล้มได้เช่นกัน
ด้านสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
บ้านและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุคือปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่อาจจะทำให้พวกเขาเกิดอุบัติลื่นล้มหกล้มได้ โดยเฉพาะบ้านที่ถูกออกแบบไม่เหมาะสม เช่น บันไดสูงชัน พื้นบ้านลื่น ไม่มีแสงสว่าง หรือจัดแบ่งพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร เราจึงควรออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสม เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย
7 วิธีป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงจากอันตรายในบ้าน
เมื่อเราได้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มไปแล้ว การนำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องก็จะช่วยให้เราดูแลผู้สูงอายุในบ้านได้ถูกวิธี และนี่คือ 7 เคล็ดลับวิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่เรานำมาฝากกัน
1. ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่เราควรใส่ใจเป็นอย่างแรกคือ การออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ เพราะเมื่อพวกเขามีร่างกายที่แข็งแรง ก็จะทำให้ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาในปริมาณเยอะ ไม่ทนทุกข์ทรมานจากโรคประจำตัว และยังสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วยครับ
2. จัดสรรที่อยู่อาศัยที่ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ
อย่างที่เราได้บอกไปว่า บ้านที่ถูกออกแบบอย่างไม่เหมาะสม คือปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ เราจึงควรจะออกแบบบ้านที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ เพื่อให้สมาชิกในบ้านไม่ลื่นล้ม หกล้ม และบาดเจ็บได้ โดยใช้เคล็ดลับเหล่านี้
ห้องต่าง ๆ มีพื้นที่กว้างขวางสำหรับรถเข็น และการใช้ชีวิตประจำวัน
ออกแบบห้องน้ำ ให้เหมาะกับการใช้งาน แบ่งพื้นที่โซนแห้ง-เปียก มีราวจับ
ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเดิน
เพิ่มไฟส่องสว่าง เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น
ซึ่งในส่วนของพื้นบ้านนั้น เราอยากแนะนำให้คุณลองปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่ไม่เงามัน ไม่ลื่น หรืออาจจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มค่ากันลื่น อย่างจมูกบันได หรือน้ำยากันพื้นลื่น ที่สามารถใช้งานได้ยาวก็นาน ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยครับ

3. ใช้อุปกรณ์เสริมระหว่างเดิน
ถ้าหากเราลองสังเกตดู จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเคลื่อนที่ ดังนั้นการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุง่าย ๆ ที่เห็นผลมาก คือ การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง ระหว่างเดินอย่าง ไม้เท้า โดยไม้เท้าที่เหมาะสมควรทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ยกง่าย และมียางกันลื่นด้านล่าง มิเช่นนั้นก็อาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามได้
4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนตัว
ถ้าหากว่าผู้สูงอายุในบ้านของเรามีพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดการหกล้มได้ง่าย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สวมรองเท้าที่ไม่มีดอกยาง หรือชื่อชอบการจัดบ้าน เราควรมีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจเป็นสาเหตุให้พวกเขาลื่นล้ม ทั้งงดการดื่มแอลกออฮอล์ เปลี่ยนรองเท้า หรือการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลดได้มากทีเดียวครับ
5. ประเมินการใช้ยาอย่างเหมาะสม
ยา คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มหกล้มในผู้สูงอายุได้เช่นกัน เพราะมีผู้สูงอายุหลาย ๆ คนที่มีปัญหาด้านความจำ ทำให้พวกเขาหลงลืมการรับประทานยาหรือกินยาเกินขนาด ดังนั้นถ้าหากว่าเรา ประเมินการใช้ยา และดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยให้พวกเขาได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสมอย่างแน่นอน
6. เลือกใช้อุปกรณ์แจ้งเตือน
แม้ อุปกรณ์แจ้งเตือน จะไม่ได้ช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้ แต่เชื่อไหมว่า นี่คืออุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้เรารับรู้และเข้าถึงผู้บาดเจ็บได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอุปกรณ์แจ้งเตือนที่เราพูดถึงนี้ก็มีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการดึงเชือกและกดปุ่มฉุกเฉิน และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสามารถสังเกต Heart Rate ของผู้สูงอายุได้อีกด้วย
7. ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด
วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่เราอยากแนะนำให้คุณทำมากที่สุดคือ การดูแลผู้สูงอายุ อย่างใกล้ชิด เพราะผู้สูงอายุหลาย ๆ คนอาจมีร่างกายและจิตใจที่ไม่พร้อมสำหรับการอยู่คนเดียว เช่น ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง มีอาการซึมเศร้า เดินไม่สะดวก หรือหลงลืมการรับประทานยา ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่อาจส่งผลให้พวกเขาลื่นล้มหกล้มได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรสอดส่องดูและพวกเป็นสม่ำเสมอ

แนวทางการรับมือเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
ถึงแม้ว่าเรามีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุทุก ๆ ด้านแล้ว แต่อุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม ในผู้สูงอายุก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการเตรียมตัวรับมือกับอุบัติเหตุหกล้มจึงเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ไว้ก่อน เรามาดูกันเลยว่า การรับมือกับอุบัติเหตุเบื้องต้นที่เหมาะสมจะมีอะไรบ้าง
ให้เราเรียกรถพยาบาล หากว่าเราไม่รู้วิธี ปฐมพยาบาล เบื้องต้น
ไม่ขยับร่างกาย เพื่อป้องกันกระดูกหัก และการบาดเจ็บรุนแรง
หลีกเลี่ยงการให้รับประทานอาหารและน้ำ เพราะอาจทำให้ติดคอและหายใจไม่ออกได้
เพิ่มความอบอุ่น ให้กับร่างกายผู้บาดเจ็บ เพื่อป้องกันสภาวะช็อก
ปลอบผู้สูงอายุ สร้างความมั่นใจ ลดความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า
ป้องกันการหกล้ม ลื่นล้ม ในผู้สูงอายุด้วยน้ำยากันพื้นลื่น Biopox
เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงได้ เพราะสมาชิกในบ้านคือบุคคลใกล้ชิดที่ผู้สูงอายุหลาย ๆ คนไว้วางใจ ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มผ่านการดูแลคนที่เรารักอย่างใกล้ชิด ทั้งการออกกำลังกาย ใช้อุปกรณ์เสริม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมไปถึงการใช้น้ำยากันพื้นลื่นก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราอยากให้คุณได้ใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในบ้าน
Biopox จะช่วยให้คุณสามารถ แก้ปัญหากระเบื้องลื่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากช่วยเพิ่มการค่ากันลื่นได้แล้ว เรายังใช้เทคโนโลยีเม็ดทรายใสที่จะไม่ทำให้พื้นบ้านของคุณเป็นอันตราย ใช้ง่ายได้ง่าย ๆ และประหยัดกว่าการเปลี่ยนพื้นใหม่
หากสนใจผลิตภัณฑ์น้ำยากันลื่น Biopox สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.Biopox.co.th/
Comments